Phi Mai อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นปราสาทหินทรงขอมโบราณแบบบาปวน ตั้งอยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยปราสาทหินในสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ และเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนานิกายมหายาน ในเวลาต่อมา ปราสาทหินพิมาย สร้างขึ้นตามความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์ และโลกมนุษย์ ลักษณะผังของปราสาทหินพิมายนั้นสร้างขึ้นคล้ายเขาพระสุเมรุ มีองค์ปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ใจกลางของเทวสถาน เป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ ปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในอำเภอพิมาย และจังหวัดนครราชสีมา เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะเขมร มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย ตัวอุทยานตั้งอยู่ฟากทิศตะวันออกของแม่น้ำมูล และอยู่ในจังหวัด นครราชสีมา อ.พิมาย บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่น ๆ ที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมือง พระนคร เมืองหลวงในสมัยนั้นของอาณาจักรขะแมร์ ซึ่งเข้ามาสู่เมืองพิมายทางทิศใต้ Latitude : 15.220060141506368 Longitude : 102.49415383842529 เป็นส่วนสำคัญที่สุดของปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทองค์ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16–17 ก่อสร้างด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่น ๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประธานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ มณฑป และ เรือนธาตุ มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง มักจำหลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา ยกเว้นทางด้านทิศใต้ จำหลักเป็นภาพศิวนาฏราช ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ พื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือ มีทับหลังหินทรายจำหลักภาพเล่าเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตอนอรชุนล่าหมูป่า ส่วนกรอบประตูด้านอื่นคงเหลือร่องรอยเฉพาะเสาประดับกรอบประตูศิลปะแบบขอมประดับอยู่ ลักษณะของปรางค์องค์นี้ สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหน้า สันนิษฐานว่าเป็นรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวพรหมทัต ส่วนอีกรูปเป็นรูปสตรีนั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทราย ส่วนศีรษะและแขนหักหายไป เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางชัยราชเทวีมเหสี ชาวบ้านเรียกตามนิยายพื้นบ้านว่า นางอรพิม ปัจจุบันประติมากรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย เมื่อผ่านซุ้มประตูหรือโคปุระด้านทิศใต้ของกำแพงชั้นนอก(กำแพงแก้ว) เข้ามามีแนวทางเดินทอดไปยังซุ้มประตูระเบียงคด แนวทางเดินนี้เชื่อมติดกันและยกพื้นสูง ก่อด้วยหินทราย มีแผนผังเป็นรูปกากบาท ภายในมีช่องว่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน 4 ช่อง การขุดแต่งและบูรณะอาคารหลังนี้ พบเศษกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาจำนวนมาก สันนิษฐานได้ว่าทางเดินนี้มีลักษณะเป็นระเบียงโปร่งหลังคามุงกระเบื้องรองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกระหว่างซุ้มประตูกําแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคดด้านทิศตะวันตก จำนวน 2 หลังมีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูงก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนวบริเวณพื้นห้องพบร่องรอยหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสระหว่างการขุดแต่งพบกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาเป็นจํานวนมาก จึงเชื่อว่าเดิมคงมีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องสันนิษฐานว่าอาคารทั้งสองหลังนี้เป็นบรรณาลัยเป็นอาคารที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกระหว่างซุ้มประตูกําแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคดด้านทิศตะวันตก จำนวน 2 หลังมีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูงก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนวบริเวณพื้นห้องพบร่องรอยหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสระหว่างการขุดแต่งพบกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาเป็นจํานวนมาก จึงเชื่อว่าเดิมคงมีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องสันนิษฐานว่าอาคารทั้งสองหลังนี้เป็นบรรณาลัยเป็นอาคารที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ระเบียงคด ซึ่งมีชาลาทางเดินเชื่อมระหว่างกัน ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบปราสาทชั้นใน ภายในสามารถเดินทะลุถึงกันได้โดยตลอด ระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ก่อด้วยหินทรายสีแดงยกเว้นส่วนที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษและสลักลวดลายประดับเช่นกรอบประตู กรอบหน้าต่าง ทับหลังใช้หินทรายสีขาว ระเบียงคดมีขนาดกว้าง 2.35.เมตร ความยาวทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ 72 เมตร ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาว 80 เมตร ผนังด้านในเจาะเป็นช่องหน้าต่างเป็นระยะตรงกัน ส่วนผนังด้านนอกเจาะเป็นช่องหน้าต่างหลอกก่อทึบประดับลูกกรงสลักด้วยหินทรายอย่างที่เรียกว่า ลูกมะหวดหลังคามุงด้วยหินทรายสลักด้านนอกเลียนแบบกระเบื้อง ก่อเหลี่ยมซ้อนกันขึ้นเป็นรูปโค้งคล้ายประทุนเรือ ระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน มีซุ้มประตูอยู่ในแนวตรงกันกับซุ้มประตูกำแพงแก้วและตรงกันกับประตูปราสาทประธาน ลักษณะคล้ายคลึงกับซุ้มประตูของกำแพงแก้วแต่มีขนาดเล็กกว่า พื้นห้องปูด้วยหินทรายและมีหลุมเจาะลงไปในพื้นหินเช่นเดียวกับที่โคปุระชั้นนอก ทุกด้านมีช่องประตูผ่านได้ 3 ช่อง ยกเว้นด้านทิศใต้มีประตูขนาดเล็กอีก 1 ช่อง ที่มุมระเบียบคดทั้ง 4 ทำเป็นซุ้มมีประตูจริงเฉพาะที่ระเบียงด้านทิศใต้ส่วนด้านอื่นทำเป็นประตูหลอก ซุ้มประตูในลักษณะเดียวกันนี้ปรากฎอยู่ทั้ง 4 ด้าน แนวด้านทิศเหนือ ทิศใต้ อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพงส่วนทิศตะวันออก – ทิศตะวันตกอยู่ค่อนไปทางทิศเหนือเล็กน้อย ทั้งหมดก่อด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทรายสีขาวประกอบในส่วนที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ ได้แก่ กรอบประตู กรอบหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู เสาประดับผนัง เป็นต้น โดยที่ส่วนบนของซุ้มประตูพังทลายไปเป็นส่วนใหญ่ ทับหลังส่วนหนึ่งร่วงหล่นลงมาและนำไปเก็บรักษาไว้ด้านนอกเมื่อทำการบูรณะได้นำกลับมาติดตั้งไว้ ส่วนหนึ่งจัดแสดงไว้บริเวณลานปราสาท ทับหลังเหล่านี้สลักภาพเล่าเรื่องอวตารของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ โดยเฉพาะรามาวตาร และกฤษณาวตาร ดูจะเป็นที่นิยมเป็นพิเศษ นอกนั้นเป็นภาพทางพุทธศาสนาและภาพอื่น ๆ ระเบียงคด ซึ่งมีชาลาทางเดินเชื่อมระหว่างกัน ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบปราสาทชั้นใน ภายในสามารถเดินทะลุถึงกันได้โดยตลอด ระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ก่อด้วยหินทรายสีแดงยกเว้นส่วนที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษและสลักลวดลายประดับเช่นกรอบประตู กรอบหน้าต่าง ทับหลังใช้หินทรายสีขาว ระเบียงคดมีขนาดกว้าง 2.35.เมตร ความยาวทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ 72 เมตร ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาว 80 เมตร ผนังด้านในเจาะเป็นช่องหน้าต่างเป็นระยะตรงกัน ส่วนผนังด้านนอกเจาะเป็นช่องหน้าต่างหลอกก่อทึบประดับลูกกรงสลักด้วยหินทรายอย่างที่เรียกว่า ลูกมะหวดหลังคามุงด้วยหินทรายสลักด้านนอกเลียนแบบกระเบื้อง ก่อเหลี่ยมซ้อนกันขึ้นเป็นรูปโค้งคล้ายประทุนเรือ ระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน มีซุ้มประตูอยู่ในแนวตรงกันกับซุ้มประตูกำแพงแก้วและตรงกันกับประตูปราสาทประธาน ลักษณะคล้ายคลึงกับซุ้มประตูของกำแพงแก้วแต่มีขนาดเล็กกว่า พื้นห้องปูด้วยหินทรายและมีหลุมเจาะลงไปในพื้นหินเช่นเดียวกับที่โคปุระชั้นนอก ทุกด้านมีช่องประตูผ่านได้ 3 ช่อง ยกเว้นด้านทิศใต้มีประตูขนาดเล็กอีก 1 ช่อง ที่มุมระเบียบคดทั้ง 4 ทำเป็นซุ้มมีประตูจริงเฉพาะที่ระเบียงด้านทิศใต้ส่วนด้านอื่นทำเป็นประตูหลอก ซุ้มประตูในลักษณะเดียวกันนี้ปรากฎอยู่ทั้ง 4 ด้าน แนวด้านทิศเหนือ ทิศใต้ อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพงส่วนทิศตะวันออก – ทิศตะวันตกอยู่ค่อนไปทางทิศเหนือเล็กน้อย ทั้งหมดก่อด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทรายสีขาวประกอบในส่วนที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ ได้แก่ กรอบประตู กรอบหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู เสาประดับผนัง เป็นต้น โดยที่ส่วนบนของซุ้มประตูพังทลายไปเป็นส่วนใหญ่ ทับหลังส่วนหนึ่งร่วงหล่นลงมาและนำไปเก็บรักษาไว้ด้านนอกเมื่อทำการบูรณะได้นำกลับมาติดตั้งไว้ ส่วนหนึ่งจัดแสดงไว้บริเวณลานปราสาท ทับหลังเหล่านี้สลักภาพเล่าเรื่องอวตารของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ โดยเฉพาะรามาวตาร และกฤษณาวตาร ดูจะเป็นที่นิยมเป็นพิเศษ นอกนั้นเป็นภาพทางพุทธศาสนาและภาพอื่น ๆอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ข้อมูลรายละเอียด
ที่ตั้ง
พิกัด
โบราณสถานสามมิติ
ปราสาทประธาน
ปรางค์หินแดง
ปรางค์พรหมทัต
ชาลาทางเดิน
บรรณาลัย 1
บรรณาลัย 2
ซุ้มประตูและระเบียงคด ทิศเหนือ
ซุ้มประตูและระเบียงคด ทิศใต้
ซุ้มประตูและระเบียงคด ทิศตะวันออก
ซุ้มประตูและระเบียงคด ทิศตะวันตก